วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การจัดทำสมรรถนะและตัวชี้วัดผลงานหลัก

ตามที่มหาวิทยาลัยได้มีแนวทางในการพัฒนาระบบการบริหารงานบุคคลให้มีประสิทธิภาพและปรับปรุงคุณภาพของทรัพยากรบุคคล เพื่อรองรับการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในอนาคต โดยการนำระบบการบริหารประสิทธิภาพการดำเนินงาน (PMS) ด้วยการนำสมรรถนะ (Competency) ของตำแหน่งงาน และการประเมินผลงานตามตัวชี้วัดผลงาน (KPIs) มาใช้ในการบริหารผลงานและการบริหารทรัพยากรบุคคลในด้านต่าง ๆ นั้น บุคลากรทุกตำแหน่งงานในมหาวิทยาลัยจึงต้องศึกษาและจัดทำสมรรถนะของตำแหน่งงานเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาในการประเมินผลการปฏิบัติงานและการเลื่อนขั้นเงินเดือนต่อไป

สมรรถนะ (Competency) หมายถึง คุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่เป็นผลมาจากความรู้ ทักษะ/ความสามารถ และคุณลักษณะอื่นๆ ที่ทำให้บุคคลสามารถสร้างผลงานได้โดดเด่นกว่าเพื่อนร่วมงานอื่นๆ ในองค์กร

Competency แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

1. ความสามารถหลัก (Core Competency)

2. ความสามารถทางการบริหารจัดการ (Managerial Competency)

3. ความสามารถทางอาชีพ (Functional Competency)

ตัวชี้วัดผลงาน (KPIs) หมายถึง ตัวชี้วัดความสำเร็จในการทำงาน เป็นการระบุความสำเร็จของผลงานเพื่อนำมาใช้เป็นหน่วยวัดที่วัดเป็นตัวเลขได้

คุณลักษณะที่สำคัญ

1. เน้นการวัดความสำเร็จที่เป็น Output

2. สามารถวัดออกมาในเชิงปริมาณได้

ทั้งนี้

วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การประกันสังคม







การประกันสังคมดำเนินการตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2537 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2542 และพระราชกฤษฎีกากำหนดระยะเวลาเริ่มดำเนินการจัดเก็บเงินสมทบเพื่อการให้ประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน พ.ศ.2546 ซึ่งจะให้หลักประกันแก่ลูกจ้างผู้ประกันตนรวมทั้งสิ้น 7 กรณีคือ การเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุ การทุพพลภาพ การตายที่มิใช่เนื่องจากการทำงาน การคลอดบุตร การชราภาพ การสงเคราะห์บุตร และการว่างงาน

เงินสมทบคืออะไร

เงินสมทบ คือ เงินที่นายจ้าง ลูกจ้างจะต้องนำส่งเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือนโดยคำนวณจากค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับ ซึ่งกำหนดจากฐานค่าจ้างเป็นรายเดือนต่ำสุดเดือนละ 1,650 บาท สูงสุดเดือนละ 15,000 บาท ทั้งนี้ รัฐบาลจะออกเงินสมทบเข้ากองทุนอีกส่วนหนึ่ง

การเรียกเก็บเงินสมทบและการคำนวณเงินสมทบ

- ทุกครั้งที่มีการจ่ายค่าจ้าง ให้นายจ้างหักค่าจ้างของผู้ประกันตนตามจำนวนที่ต้องนำส่งเป็นเงินสมทบ ดังนี้

ปี พ.ศ.2547 เป็นต้นไป อัตราเงินสมทบร้อยละ 5 (นายจ้าง ร้อยละ 5 และลูกจ้างร้อยละ 5 ของค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในแต่ละเดือน)

หมายเหตุ การส่งเงินสมทบเพื่อสิทธิประโยชน์ 7 กรณีให้นายจ้างนำส่งเงินสมทบในส่วนของผู้ประกันตนที่ได้หักไว้ และเงินสมทบในส่วนของนายจ้างเท่ากับจำนวนเงินที่หักจากลูกจ้างส่งให้สำนักงานภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป โดยนำส่งที่สำนักงานประกันสังคมหรือที่ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

ซึ่งในส่วนของการดำเนินการเพื่อขึ้นทะเบียนผู้ประกันของพนักงานในสถาบัน อุดมศึกษา และลูกจ้างชั่วคราวของมหาวิทยาลัยศิลปากร มีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้

1. กองการเจ้าหน้าที่ทำบันทึกไปยังลูกจ้างชั่วคราว/พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา ที่บรรจุใหม่ ตามคำสั่งที่ได้แนบไปพร้อมกับแบบฟอร์มแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส.1-03) เพื่อให้กรอกข้อมูลในรายละเอียดในแบบ สปส.1-03 ให้ถูกต้อง ทั้งนี้ต้องแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนเพื่อเป็นหลักฐานส่งสำนักงานประกันสังคม

2. ลูกจ้างชั่วคราว/พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา นำส่งแบบ สปส.1-03 ไปยังกองการเจ้าหน้าที่

3. กองการเจ้าหน้าที่ รับเรื่องและนำส่งงานบริหารงานบุคคลเพื่อดำเนินการ

ตรวจสอบและกรอกรายละเอียดข้อมูลนายจ้างมหาวิทยาลัยศิลปากร และตรวจสอบข้อมูลผู้ประกันตนและการเลือกสถานพยาบาลให้อยู่ในรายชื่อสถานพยาบาลประกันสังคมตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด แยกตามจังหวัด สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงานสวัสดิการสังคม

4. รองอธิการบดี (บริหาร) ลงนามในหนังสือนำส่งแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส.1-03) และลงนามในแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส.1-03)

5. นำแบบส่งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนฯ ไปยังสำนักงานประกันสังคม

6. สำนักงานประกันสังคมส่งบัตรประกันสังคมและแบบรายงานการออกบัตรประกันสังคมมายังมหาวิทยาลัยศิลปากร

7. กองการเจ้าหน้าที่รับเรื่องและนำส่งงานบริหารงานบุคคลเพื่อดำเนินการ

จัดส่งบัตรประกันสังคมให้กับผู้ประกันตนแต่ละรายที่สังกัดตามคณะวิชา/หน่วยงานต่างๆ

หมายเหตุ

1. บัตรประกันสังคมที่ใช้บริการในสถานพยาบาลที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด มีระยะเวลาในการถือบัตรรับรองสิทธิ์ในการรักษาพยาบาลเป็นเวลา 2 ปี

2. กรณีที่มีการบันทึกข้อมูลในบัตรประกันสังคมผิดพลาด

ผู้ประกันตนจะส่งบัตรดังกล่าวมา เพื่อให้กองการเจ้าหน้าที่ดำเนินการกรอกแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงผู้ประกันตน(สปส.6-10) ไปยังสำนักงานประกันสังคม (โดยแนบบัตรประกันสังคมเดิมที่ผิดพลาดไปด้วย)

3. กรณีผู้ประกันตนมีการเปลี่ยนแปลง ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ ฯลฯ และมีบุตรผู้ประกันตนจะกรอกข้อมูลในแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงผู้ประกันตน (สปส.6-10)

ตัวอย่าง

(1.) กรณีบรรจุใหม่

นาย ก. (ลูกจ้าง) ได้รับการบรรจุ ซึ่งได้รับอัตราค่าจ้างเดือนละ 10,000 บาท หลังจากที่ขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนเรียบร้อยแล้ว จะถูกหักเงินเข้าสมทบประกันสังคมเป็นจำนวนเงิน 500บาท/เดือน (ร้อยละ 5 ของอัตราค่าจ้างที่ได้รับในแต่ละเดือน) และทางมหาวิทยาลัย(นายจ้าง)จะสมทบเงินประกันสังคมให้นาย ก. เป็นจำนวนเงิน 500 บาท/เดือน(ร้อยละ 5 ของอัตราค่าจ้างที่นาย ก.ได้รับในแต่ละเดือน) ทั้งนี้ ผู้ประกันตนที่ได้รับอัตราค่าจ้างตั้งแต่ 15,000 บาท/เดือนขึ้นไป จะถูกหักเงินเข้าสมทบประกันสังคมเป็นจำนวนเงิน 750 บาท/เดือน (ร้อยละ 5 ของเงิน 15,000 บาท) และมหาวิทยาลัยก็จะสมทบเข้าเงินประกันสังคมเป็นจำนวนเงิน 750 บาท/เดือนเช่นกัน

(2.) กรณีลาออกจากงานหรือว่างงานแต่ยังประสงค์จะส่งเงินสมทบประกันสังคมต่อ

กรณี นาย ก.ลาออกจากงานหรือสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง แต่ยังประสงค์จะส่งเงินสมทบประกันสังคมต่อ ก็ให้เป็นไปตามมาตรา ๓๙ ซึ่งมีความว่า ผู้ใดเคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๓ โดยจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบสองเดือน และต่อมาความเป็นผู้ประกันตนได้สิ้นสุดลงตามมาตรา ๓๘(๒) ถ้าผู้นั้นประสงค์จะเป็นผู้ประกันตนต่อไป ให้แสดงความจำนงต่อสำนักงานตามระเบียบที่เลขาธิการกำหนด ภายในหกเดือนนับแต่วันสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน

จำนวนเงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบที่ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่งต้องส่งเข้ากองทุนตามมาตรา ๔๖ วรรคสอง ให้เป็นไปตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ โดยให้คำนึงถึงความเหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจในขณะนั้นด้วย

ให้ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่งนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเดือนละครั้งภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป

ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่งซึ่งไม่ส่งเงินสมทบ หรือส่งไม่ครบจำนวนภายในเวลาที่กำหนดตามวรรคสาม ต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละสองต่อเดือนของจำนวนเงินสมทบที่ยังมิได้นำส่ง หรือของจำนวนเงินสมทบที่ยังขาดอยู่นับแต่วันถัดจากวันที่ต้องนำส่งเงินสมทบ สำหรับเศษของเดือนถ้าถึงสิบห้าวันหรือกว่านั้นให้นับเป็นหนึ่งเดือนถ้าน้อยกว่านั้นให้ปัดทิ้ง

การดำเนินการสอบคัดเลือก/คัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุเป็นพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา และเข้าปฏิบัติงานเป็นลูกจ้างชั่วคราว สังกัดกองคลัง กองกลางและกองการเจ้าหน้าที่ มีขั้นตอน ดังนี้

1. หน่วยงานตั้งเรื่องเพื่อขออนุมัติดำเนินการเปิดสอบคัดเลือก/คัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุเป็นพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา และเข้าปฏิบัติงานเป็นลูกจ้างชั่วคราว เลขานุการจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการสอบ

2. จัดทำประกาศรับสมัครสอบ

3. นัดประชุมคณะกรรมการฯ เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติ และกำหนดวันสอบ

4. จัดทำประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบ กำหนดวันเวลาสถานที่สอบ รายละเอียดเกี่ยวกับการสอบ

5. ดำเนินการจัดสอบข้อเขียน/ปฏิบัติ/สัมภาษณ์ และจัดทำบัญชี ผลคะแนน

6. จัดทำประกาศผลผู้สอบได้ เสนอลงนาม และเรียกตัวผู้สอบได้เข้าทำงาน หน่วยงานที่สังกัด

7. ขออนุมัติเบิกเงินค่าตอบแทนสำหรับกรรมการออกข้อสอบ ข้อเขียน/ปฏิบัติ/สัมภาษณ์ ให้คณะกรรมการดำเนินการสอบในตำแหน่ง ดังนี้ ข้าราชการ พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา พนักงานราชการ ยกเว้น ลูกจ้างชั่วคราว ตามหลักเกณฑ์วิธีคิดเงินค่าตอบแทนแนบท้ายนี้

8. ทำบันทึกเสนอที่ประชุมก.บ.ม. และ ก.บ.พ. เพื่อขออนุมัติบรรจุผู้สอบได้เข้าทำงาน (เฉพาะพนักงานราชการและพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา)

9. ทำบันทึกแจ้งวันรายงานตัวเข้าทำงาน

10. กรณีมีผู้สอบได้ที่ขึ้นบัญชีไว้ เลขานุการดำเนินการ ดังนี้

- แจ้งประธานดำเนินการสอบเพื่อพิจารณา

- หากเห็นชอบให้เรียกจากบัญชี จัดทำหนังสือถึงผู้สอบได้ในลำดับต่อไป โดยในหนังสือต้องระบุ กำหนดวันที่จะรายงานตัวเข้าปฏิบัติ

การประเมินผลการทดลองปฏิบัติงานของลูกจ้างชั่วคราว สังกัดกองคลัง กองกลางและกองการเจ้าหน้าที่

1. นัดประชุมคณะกรรมการ ก่อนถึงกำหนดครบการประเมินทดลองปฏิบัติงาน (อย่างน้อย 15 วัน)

2. เมื่อคณะกรรมการประเมินมีมติเห็นชอบให้ผ่านการประเมินทดลองปฏิบัติงาน จะทำบันทึกพร้อมแนบแบบฟอร์มเสนอรองอธิการบดี (บริหาร) ทราบ

3. แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (งานบริหารงานบุคคล งานทะเบียนประวัติ) เพื่อดำเนินการต่อไป

4. ลงทะเบียนคุมในการผ่านผลการประเมินฯ เพื่อให้ปฏิบัติงานในตำแหน่งดังกล่าวต่อไป


การประเมินเพื่อต่อสัญญาการจ้างลูกจ้างชั่วคราว สังกัดกองคลัง กองกลางและกองการเจ้าหน้าที่

กรณีลูกจ้างชั่วคราวจะมีการต่อสัญญาจ้างทุกปี ปีละ 1 ครั้ง ช่วงเดือนตุลาคมของทุกปี มีขั้นตอน ดังนี้

1. สำรวจรายชื่อลูกจ้างชั่วคราวที่มีสิทธิได้รับการต่อการจ้าง

2. ดำเนินการจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการฯ เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติผู้มีสิทธิที่จะได้รับการต่อการจ้าง

3. จัดเตรียมเอกสารการประเมิน และนัดคณะกรรมการ เพื่อทำการประเมินให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา

4. ทำบันทึกเสนอผลการประเมิน และแจ้งผู้เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป (ส่งงานบริหารงานบุคคล ออกคำสั่ง)


การประเมินเพื่อเลื่อนขั้นค่าจ้างลูกจ้างชั่วคราว สังกัดกองคลัง กองกลางและกองการเจ้าหน้าที่

กรณีลูกจ้างชั่วคราวมีการประเมินเลื่อนขั้นค่าจ้างลูกจ้างชั่วคราว ปีละ 2 ครั้ง ช่วงเดือนเมษายนและกันยายนของปีงบประมาณ มีขั้นตอน ดังนี้

1. สำรวจรายชื่อลูกจ้างชั่วคราวที่มีสิทธิได้รับการเลื่อนขั้นค่าจ้าง ประมาณเดือนเมษายนและตุลาคม

2. ดำเนินการจัดทำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการฯ เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติผู้มีสิทธิที่จะได้รับการเลื่อนขั้นค่าจ้าง

3. จัดเตรียมเอกสารการประเมิน และนัดคณะกรรมการ เพื่อทำการประเมินให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา

4. ทำบันทึกเสนอผลการประเมิน และแจ้งผู้เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป (ส่งงานบริหารงานบุคคล ออกคำสั่ง)

5. จัดทำฐานข้อมูลรายบุคคลของลูกจ้างชั่วคราวเกี่ยวกับสถิติผลคะแนนการประเมิน และความถี่ในการเลื่อนขั้นค่าจ้างในแต่ละรอบปี (ปีละ 2 ครั้ง)

การเลิกจ้างและการลาออกของลูกจ้างชั่วคราว

- ลูกจ้างชั่วคราวแบบมีสัญญาจ้าง

กรณีลูกจ้างชั่วคราวแบบมีสัญญาจ้างที่เลิกจ้างก่อนครบกำหนดตามระยะเวลาในสัญญาจ้าง ต้องพิจารณาจากสัญญาจ้างเป็นหลักว่ามีเงื่อนไขใดที่ทำให้ต้องเลิกจ้างก่อนกำหนด และพิจารณาจากเอกสารที่หน่วยงานต้นสังกัดส่งมาว่าเป็นไปตามเงื่อนไขในสัญญาจ้างหรือไม่

- ลูกจ้างชั่วคราวแบบไม่มีสัญญาจ้าง

กรณีลูกจ้างชั่วคราวแบบไม่มีสัญญาจ้างต้องพิจารณาจากระเบียบข้อบังคับเป็นหลักว่าถ้าเลิกจ้างก่อนกำหนดจะต้องทำอย่างไรบ้าง และพิจารณาในเรื่องของวันลา เช่น

1. ลาป่วย ลูกจ้างชั่วคราวมีจำนวนวันลาที่กำหนดโดยได้รับเงินเดือน/ค่าจ้าง

ปีละ 8/15 วัน (วันทำการ) แต่มีเงื่อนไขดังนี้

(1) ปีแรกที่เริ่มปฏิบัติงานมีระยะเวลาการจ้างครบ 6 เดือน ลาโดยได้รับค่าจ้างไม่เกิน 8 วัน

(2) ในปีถัดมาหากได้รับการจ้างต่อเนื่องจากปีที่แล้ว ลาโดยได้รับค่าจ้างไม่เกิน 15 วัน

ทั้งนี้ ต้องมีการตรวจสอบจากหน่วยงานต้นสังกัดก่อนว่าลูกจ้างชั่วคราวที่ลาออกมีจำนวนวันลาเท่าใด และมีข้อพันธะผูกพันใดๆหรือไม่ จึงสามารถดำเนินการออกคำสั่งต่อไป

การปรับวุฒิข้าราชการและพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา


การปรับวุฒิข้าราชการและพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา ให้ประสานงานกับหัวหน้างานพัฒนาและฝึกอบรม เพื่อตรวจสอบว่าผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศจะขอปรับวุฒิการศึกษานั้นต้องจบจาก 7 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา สหราชอาณาจักร ประเทศออสเตรเลีย ประเทศนิวซีแลนด์ ประเทศญี่ปุ่น และ Asian Institute of Technology ที่ ก.พ. รับรองและมอบอำนาจให้มหาวิทยาลัยดำเนินการได้ กรณีที่สำเร็จการศึกษานอกเหนือจาก 7 ประเทศดังกล่าว มหาวิทยาลัยต้องทำหนังสือไปยังสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เพื่อพิจารณาคุณวุฒิการศึกษาให้ได้รับเงินเดือน ขั้นและระดับใด เช่น มีผู้จบการศึกษาจากประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ วุฒิปริญญาเอกให้บรรจุโดยใช้วุฒิปริญญาโทไปพลางก่อน จนกว่าสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะพิจารณาคุณวุฒิมายังมหาวิทยาลัยแล้วจึงปรับวุฒิและอัตราเงินเดือนคุณวุฒิปริญญาเอก โดยให้ย้อนหลังตั้งแต่วันรายงานตัวเข้าปฏิบัติงาน

ขั้นตอนการการตรวจสอบพิมพ์ลายนิ้วมือบุคคลเพื่อบรรจุเป็นพนักงานราชการในมหาวิทยาลัย


1. เมื่อได้คำสั่งบรรจุพนักงานราชการ และสำเนาทะเบียนบ้านของพนักงานราชการนั้นๆมาแล้ว ส่งแบบฟอร์มการขอตรวจสอบลายนิ้วมือถึงผู้กำกับการสถานีตำรวจไปให้คณะวิชา/หน่วยงานให้เจ้าตัวพนักงานราชการนั้นๆ กรอกข้อมูลส่วนตัวกลับมา

2. เมื่อได้แบบฟอร์มที่กรอกข้อมูลมาแล้ว ตรวจสอบข้อมูลว่าตรงตามสำเนาทะเบียนบ้านและคำสั่งบรรจุหรือไม่ พร้อมทั้งตรวจสอบชื่อสถานีตำรวจว่าถูกต้องตามท้องที่ที่จะไปพิมพ์ลายนิ้วมือหรือไม่

3. เมื่อตรวจสอบข้อมูลว่าถูกต้องแล้ว ทำหนังสือถึงผู้กำกับการสถานีตำรวจ เสนอรองอธิการบดี(บริหาร)ลงนาม

4. เมื่อรองอธิการบดี(บริหาร)ลงนามแล้ว ส่งหนังสือให้ผู้จะไปตรวจสอบพิมพ์ลายนิ้วมือถือหนังสือไปถึงผู้กำกับการสถานีตำรวจด้วยตัวเอง

5. เมื่อได้รับผลการตรวจสอบพิมพ์ลายนิ้วมือ และตรวจสอบประวัติแล้ว ให้เสนอผลการตรวจสอบลายนิ้วมือ ให้รองอธิการบดี(บริหาร)ทราบ แล้วเก็บแฟ้มประวัติต่อไป

ขั้นตอนการขอเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ ชื่อ-สกุล ของข้าราชการและลูกจ้างประจำ


1. รับเอกสารการขอเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ ชื่อสกุล ของข้าราชการ / ลูกจ้างประจำ

2.. ทำหนังสือขอเปลี่ยนชื่อ 2 ฉบับ ถึงกรมบัญชีกลาง 1 ฉบับ และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) 1 ฉบับ เสนอรองอธิการบดี (บริหาร) ลงนาม

3. ถ่ายสำเนาเอกสารการเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ ชื่อสกุล 2 ชุด แนบหนังสือถึงกรมบัญชีกลางและ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(ส.ก.อ.)

4. ออกเลขที่ และส่งหนังสือถึงกรมบัญชีกลาง และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.)

5. แก้ไขข้อมูลการเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ ชื่อสกุล ในระบบฐานข้อมูลบุคลากร (ระบบ MIS) แฟ้มประวัติ และก.ม.1 แล้วเก็บเรื่องในแฟ้มประวัติต่อไป

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา


เมื่อพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา มีความประสงค์สมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และยื่นแบบฟอร์มใบสมัครสมาชิกกองทุนมายังงานทะเบียนประวัติ กองการเจ้าหน้าที่ งานทะเบียนประวัติก็จะดำเนินการตรวจแบบฟอร์มใบสมัครว่าลงข้อมูลเลขที่บัตรประจำตัวประชาชน เลขที่ตำแหน่ง วันบรรจุ จากคำสั่งบรรจุและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และชื่อผู้รับผลประโยชน์ ว่าถูกต้องครบถ้วนหรือ ไม่ เพื่อส่งกองคลังดำเนินการต่อไป

สำหรับกรณีที่สมาชิกกองทุนฯขอลาออกจากการเป็นสมาชิกกองทุนฯ สมาชิกผู้นั้นจะต้องทำบันทึกถึงรองอธิการบดี(บริหาร) เพื่อขอลาออกจากกองทุนฯ โดยต้องระบุรายละเอียดชื่อกองทุนฯ เลขสมาชิกกองทุนฯ และวันที่ลาออกจากกองทุนฯ รวมทั้งกรอกแบบฟอร์มใบลาออกจากการเป็นเป็นสมาชิกกองทุนฯมาด้วย

วิธีการคิดคำนวณเวลาทวีคูณ


เมื่อมีประกาศให้ข้าราชการพ้นจากราชการเพราะเกษียณอายุ และลาออกจากราชการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ (โครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด) ต้องตรวจสอบประวัติการรับราชการจากแฟ้มประวัติ และแบบ กม.1 /สมุดประวัติ ว่าในช่วงเวลารับราชการที่ผ่านมานั้นข้าราชการผู้นั้น ได้ลาป่วย ลากิจ ลาศึกษา โดยไม่ได้รับเงินเดือนและมีโทษวินัย เช่น ตัดเงินเดือน หรือขาดราชการหรือไม่ ในช่วงที่มีการประกาศกฎอัยการศึก ข้าราชการผู้นั้นได้ปฏิบัติหน้าที่อยู่ หรือไม่ หากไม่อยู่ ให้นำเวลาในช่วงดังกล่าวไปหักออกจากวันที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการ โดยนำช่วงเวลาที่กล่าวไปแล้วข้างต้น(ถ้ามี) ไปกรอกในแบบใบรับรองสมุดประวัติและเวลาทวีคูณระหว่างปฏิบัติหน้าที่ในเขตที่ได้ประกาศใช้กฎอัยการศึก(ตามแบบของกรมบัญชีกลาง)เพื่อคิดคำนวณเวลาทวีคูณ

วิธีการตรวจสอบวุฒิการศึกษาต่างประเทศ


หลังจากที่ประชุม ก.บ.ม. และ ก.บ.พ. อนุมัติให้บรรจุพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา และพนักงานราชการใหม่แล้ว งานทะเบียนประวัติจะดำเนินการตรวจสอบวุฒิการศึกษา ซึ่งกรณีที่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ จะต้องให้ผู้สำเร็จการศึกษากรอกแบบฟอร์มขอตรวจสอบวุฒิ(ตามแบบของ ก.พ.) เพื่องานทะเบียนประวัติส่งไปยังมหาวิทยาลัย/สถาบันที่ผู้นั้นจบการศึกษาเพื่อขอตรวจสอบวุฒิต่อไป

วิธีการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทย(สายสะพาย) สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับบัญชาระดับ 8


ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิงมงกุฎไทย พ.ศ.2536 ได้กำหนดหลักเกณฑ์การขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทย(ป.ม.) สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับบัญชาระดับ 8 ว่าจะต้องมีคุณสมบัติพิเศษ คือ จะต้องดำรงตำแหน่งระดับ 8 เงินเดือนเต็มขั้นของระดับ 8 เป็นผู้บังคับบัญชาระดับผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่ากอง และจะต้องเกษียณอายุในปีที่ขอพระราชทาน ซึ่งงานทะเบียนประวัติต้องตรวจสอบว่ามีผู้ที่อยู่ในเกณฑ์ดังกล่าวและมีคุณสมบัติครบถ้วนหรือไม่ หากมีก็ให้ประสานกับคณะวิชา/หน่วยงานเพื่อนำเสนอเรื่องเพื่อขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ข้าราชการผู้นั้นต่อไป